นับตั้งแต่ช่วงคืนวันอังคารที่ 30 เมษายน ค่าเงินบาทได้ผันผวนในกรอบที่กว้างพอสมควร (แกว่งตัวในช่วง 36.94-37.25 บาทต่อดอลลาร์) โดยในช่วงวันหยุด วันแรงงานของไทยและหลายประเทศ ด้วยสภาพคล่องในตลาดการเงินที่เบาบาง อีกทั้งเงินดอลลาร์ก็ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงก่อนตลาดรับรู้ผลการประชุมเฟด หลังผู้เล่นในตลาดบางส่วนต่างกังวลว่า เฟดอาจส่งสัญญาณในโทน Hawkish มากขึ้น
ซึ่งภาพดังกล่าว มีกับความกังวลสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่คลี่คลายลงยังได้กดดันให้ ราคาทองคำปรับฐานหนักราว -40 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ส่งผลให้ เงินบาทผันผวนอ่อนค่าทดสอบโซนแนวต้าน 37.25 บาทต่อดอลลาร์
อย่างไรก็ดี เงินบาทได้ทยอยกลับมาแข็งค่าขึ้นบ้าง หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาผสมผสาน กดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง
นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ยังได้ดำเนินต่อไปในช่วงหลังตลาดรับรู้ผลการประชุมเฟด ที่ไม่มีการส่งสัญญาณในโทน Hawkish อย่างที่ตลาดกังวล อีกทั้งประธานเฟดก็ย้ำว่า เฟดยังไม่มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างคลายกังวลแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดลงบ้าง (ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดยังคงคาดการณ์ว่าเฟดมีโอกาส 36% ที่จะลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้)
และภาพดังกล่าวก็หนุนให้ ราคาทองคำรีบาวด์ขึ้นไม่น้อยกว่า +40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดทยอยขายทำกำไรทองคำบ้าง และโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น
แนวโน้มของค่าเงินบาท
โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทได้ชะลอลงมากขึ้น โดยเฉพาะหลังผู้เล่นในตลาดได้คลายกังวลแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดลงบ้าง ทำให้เงินบาทอาจแกว่งตัว sideways ใกล้ระดับ 37 บาทต่อดอลลาร์ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดอาจยังคงรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ ทั้งยอดการจ้างงานและดัชนี ISM PMI ภาคการบริการ ทำให้ผู้เล่นในตลาดอาจยังไม่รีบปรับสถานะถือครองมากนัก
อย่างไรก็ดี เงินบาทอาจเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าได้บ้าง ตามโฟลว์ธุรกรรมจ่ายเงินปันผลให้กับนักลงทุนต่างชาติที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ไปจนถึงช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ทำให้เงินบาทจะยังไม่สามารถกลับมาแข็งค่าได้ชัดเจน จนกว่าตลาดจะมีการรับรู้ปัจจัยใหม่ๆ เพิ่มเติม เช่น ธีม US Exceptionalism ได้อ่อนกำลังลดชัดเจน จากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาแย่กว่าคาดทำให้เราประเมินว่า โซนแนวรับของเงินบาทอาจยังอยู่แถวช่วง 36.80-36.90 บาทต่อดอลลาร์ (แนวรับถัดไป 36.60 บาทต่อดอลลาร์)
ขณะที่ หากเงินบาทผันผวนอ่อนค่าลงบ้าง การอ่อนค่าของเงินบาทก็อาจจำกัดอยู่ในโซนแนวต้าน 37.15-37.25 บาทต่อดอลลาร์ ตามที่ได้ประเมินไว้ก่อนหน้า
ตลอดทั้งสัปดาห์นี้ ยังคงมองว่า ควรระวังความผันผวนในตลาดการเงิน จากการเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนของทางการญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นช่วงที่ตลาดการเงินญี่ปุ่นปิดทำการในช่วงสัปดาห์หยุดยาว Golden Week ทำให้สภาพคล่องในตลาดนั้นเบาบางลงชัดเจน และเหมาะต่อการเข้าแทรกแซงค่าเงิน โดยเฉพาะล่าสุด โมเมนตัมเงินดอลลาร์ได้แผ่วลง จากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ไม่ได้ออกมาดีกว่าคาดชัดเจน ส่วนผู้เล่นในตลาดก็เริ่มคลายกังวลแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดลงบ้าง
มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.90-37.15 บาท/ดอลลาร์
ด้านฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด37.03 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากราคาปิดตลาดเมื่อวันทำการก่อนหน้าที่ระดับ 37.10 บาท/ดอลลาร์
ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนในทิศทางอ่อนค่าแตะระดับ 37.20 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่ราคาทองคำปรับลดลงหลุดระดับ 2,310 ในวันหยุดแรงงานเมื่อวานนี้ แต่หลังจากผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งคงดอกเบี้ยตามคาดการณ์ที่ระดับ 5.25-5.50%ค่าเงินบาทก็กลับมาเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 37.00บาทต่อดอลลาร์ฯ
ค่าเงินบาทในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาอ่อนค่าเร็ว โดยหลังเกิดสงครามระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน เงินบาทอ่อนค่าประมาณ 1.6% อย่างไรก็ตามในเดือนเม.ย.การอ่อนค่านี้ยังใกล้เคียงกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาค แต่หากดูตั้งแต่ต้นปี 2024เงินบาทอ่อนค่าถึง 7.8% ซึ่งมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาค เป็นรองแค่เงินเยนที่อ่อนค่าถึง 9.6% โดยตลาดยังคงมองว่าการอ่อนค่าของสกุลเงินอื่นในภูมิภาคทั้งเงินหยวนและเงินเยนจะเป็นปัจจัยกดดันให้บาทอ่อนค่าตามได้เช่นกัน
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวผันผวนตามราคาทองคำและเม็ดเงินลงทุนของต่างชาติทั้งในตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นไทย โดยคาดกรอบการเคลื่อนไหวที่ 36.95-37.20บาท/ดอลลาร์
เมื่อวันทำการที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 4,549 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 975 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ USD/THB 36.95- 37.20 *แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 36.95 และขายที่ระดับเหนือ 37.20
EUR/THB 39.50- 39.90 * แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 39.90
JPY/THB 0.2360- 0.2400 * แนะนำ ทยอยซื้อ0.2360
GBP/THB 46.20-46.80 AUD/THB 24.00- 24.40คำพูดจาก เว็บพนันออนไลน์
กลุ่มงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.90-37.15 บาท/ดอลลาร์ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเอกฉันท์ให้คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.25-5.50% พร้อมแสดงความกังวลที่เงินเฟ้อลดลงช้ากว่าคาด
อย่างไรก็ดีเฟดไม่ได้พูดถึงการกลับมาขึ้นดอกเบี้ย เฟดมีแผนที่จะลดมาตรการ QT ลง โดยจะลดขนาดงบดุลในอัตราที่ช้าลง จากเดือนละ 6 หมื่นล้าน เป็น 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นไป หลังผลการประชุม USTreasury ปรับลดลง เงินดอลลาร์แข็งค่า และเงินบาทอ่อนค่าลงมาเล็กน้อย
ตรวจหวยงวดนี้ – ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ลอตเตอรี่ 2/5/67
ประกาศเตือนฉบับที่ 3 “พายุฤดูร้อน” 32 จังหวัดเตรียมรับมือ 3-4 พ.ค.
อาหารแก้อ่อนเพลีย-เหนื่อยง่าย เติมความสดชื่น จากการขาดวิตามินบางชนิด คำพูดจาก สล็อต777