ค่าเงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในกรอบ Sideways Up โดยยังคงเคลื่อนไหวในกรอบ 35.50-35.65 บาท/ดอลลาร์ ท่ามกลางธุรกรรมที่เบาบางจากทั้งผู้นำเข้าและส่งออก ทั้งนี้ยังไม่มีปัจจัยใหม่สำคัญในประเทศมากนักโดยตลาดรอติดตาม ครม.เศรษฐา 1 แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาในวันที่ 11-12 ก.ย.
Fund flow เมื่อวันศุกร์นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 5,364 ล้านบาท และขายหุ้นไทยสุทธิ 2,183 ล้านบาท
ครม.เศรษฐา แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา วันแรก 11 ก.ย. 2566
ราคาทองวันเสาร์-อาทิตย์ ไม่เปลี่ยนแปลงจากวันศุกร์ ลงทั้งทองนอก-ค่าบาท
ด้านปัจจัยต่างประเทศ ดอลลาร์ยังคงได้แรงหนุนจากการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ (Bond Yield) ปรับตัวสูงขึ้นซึ่งทำให้มีการคาดการณ์ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่คาดไว้ หรืออาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน พ.ย.เพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยตลาดรอดูดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันพุธที่ 13 ก.ย.นี้
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต ( ttb) แนะนำผู้นำเข้าควรซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เพื่อปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่านับตั้งแต่ช่วงคืนวันศุกร์ของสัปดาห์ก่อนหน้า เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน (แกว่งตัวในกรอบ 35.49-35.65 บาทต่อดอลลาร์) โดยมีจังหวะอ่อนค่าลงบ้าง ตามการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ และโฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว ก่อนที่เงินบาทจะทยอยแข็งค่าขึ้นมาบ้าง ตามการย่อตัวลงของเงินดอลลาร์ (โดยรวมเงินดอลลาร์เคลื่อนไหว sideway)
สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์ทยอยแข็งค่าขึ้น ใกล้ทดสอบจุดสูงสุดในปีนี้ หลังตลาดปรับเพิ่มโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยและโอกาสเฟดคงดอกเบี้ยได้นานขึ้น
ในสัปดาห์นี้ เรามองว่า ควรจับตา ไฮไลท์สำคัญ ทั้ง รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือนของจีน และ ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB)
ในสัปดาห์นี้จะเข้าสู่ช่วง Blackout โดยงดให้ความเห็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจและนโยบายการเงิน) ของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ทำให้ผู้เล่นในตลาดจะอาศัยรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญในการประเมินทิศทางนโยบายการเงินของเฟด โดยข้อมูลสำคัญที่ตลาดจะรอลุ้นอย่างใกล้ชิด คือ อัตราเงินเฟ้อ CPI และยอดค้าปลีก (Retail Sales) สำหรับอัตราเงินเฟ้อ CPI นักวิเคราะห์มองว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป Headline CPI อาจเร่งขึ้น +0.6%m/m (หรือ +3.6%y/y) ตามการปรับตัวขึ้นของราคาพลังงานเป็นสำคัญ ในขณะที่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI จะเพิ่มขึ้นเพียง +0.2%m/m (+4.3%y/y ชะลอลงต่อเนื่อง) ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวโน้มการชะลอตัวลงต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้อสู่ระดับเป้าหมายที่ 2%
สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท มีโอกาสลุ้นเงินบาททยอยกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ หากตลาดลดโอกาสเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อ กดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงบ้าง แต่ปัจจัยกดดันฝั่งอ่อนค่ายังคงอยู่ โดยเฉพาะฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่ยังคงผันผวนและไม่แน่นอน นอกจากนี้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีนออกมาแย่กว่าคาด ก็อาจยิ่งกดดันให้เงินหยวนจีน (CNY) อ่อนค่าต่อเนื่อง กระทบสกุลเงินฝั่งเอเชียคำพูดจาก PG SLOT สล็อตเว็บตรง
ประกาศแจ้งจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด "เข้าบัญชี 18 ก.ย.2566" แน่นอน
ส่องสีใหม่ "iPhone 15" และ "iPhone 15 Pro" ก่อนเปิดตัวกันยายนนี้
ประกาศรายชื่อวอลเลย์บอลหญิงไทย "นุศรา" นำทัพชุดลุยศึกคัดโอลิมปิก 2024