วันที่ 8 ก.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้กำกับดูแลและตรวจสอบบริษัทบริหารสินทรัพย์ ตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (พ.ร.ก.บบส.) ได้ตรวจสอบพบว่าบริษัทบริหารสินทรัพย์ จำนวน 4 ราย ได้แก่ 1.บริษัทบริหารสินทรัพย์ เอกธัญกิจ จำกัด 2.บริษัทบริหารสินทรัพย์ โกลบอลวัน จำกัด 3.บริษัทบริหารสินทรัพย์ เอ็มเพอร์เรอร์ จัสติซ จำกัด 4.บริษัทบริหารสินทรัพย์ ไอคอน แคปปิตอล (ประเทศไทย) จำกัด
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ ธปท. พบว่า ทั้ง 4 รายได้ให้กู้ยืมแก่กรรมการหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการประกอบธุรกิจนอกขอบเขตการประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ตาม พ.ร.ก.บบสคำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด. และฝ่าฝืนคำสั่งของ ธปท. ที่ให้บริษัทระงับการให้กู้ยืมเงินแก่กรรมการหรือผู้ถือหุ้นของตนและเรียกคืนเงินให้กู้ยืมดังกล่าว ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 12 ประกอบมาตรา 4 แห่ง พ.ร.ก.บบส. ต้องระวางโทษตามมาตรา 13 วรรคหนึ่ง
นอกจากนี้ บริษัทบริหารสินทรัพย์ข้างต้นบางราย ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตาม พ.ร.ก.บบส. และประกาศ ธปท. ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 11/1 แห่ง พ.ร.ก.บบส. ต้องระวางโทษตามมาตรา 13 วรรคหนึ่งด้วย
คณะกรรมการเปรียบเทียบตามมาตรา 14/3 แห่ง พ.ร.ก.บบส. จึงได้มีคำสั่งเปรียบเทียบปรับบริษัทบริหารสินทรัพย์ทั้ง 4 ราย รวมทั้งกรรมการของบริษัทที่เกี่ยวข้องในการกระทำความผิดด้วย เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565
“บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. จะต้องประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ตามขอบเขตที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ก.บบส. เท่านั้น และหากพบว่ามีการดำเนินการนอกขอบเขตที่กำหนด ธปทคำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น. จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวดต่อไป”
อนึ่ง ตามพ.ร.ก.บบส.ได้ระบุโทษไว้ว่า “มาตรา 13 บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 4/1 วรรคหนึ่ง มาตรา 4/2 มาตรา 10 มาตรา 11 หรือมาตรา 11/1 วรรคสอง หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือคำสั่งหรือเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 4/1 วรรคสอง มาตรา 5 มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 11/1 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 12 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 3 แสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 3,000 บาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ทั้งนี้ มาตรา 14/3 ความผิดตามมาตรา 13 มาตรา 14/1 และมาตรา 14/2 ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้ คณะกรรมการเปรียบเทียบซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งให้มีจำนวน 3 คน โดยอย่างน้อยต้องเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1 คน
เมื่อคณะกรรมการเปรียบเทียบได้ทำการเปรียบเทียบกรณีใด และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการเปรียบเทียบกำหนดแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบหรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ดำเนินคดีต่อไป