การประชุมรัฐสภาเพื่อโหวตเลือกนายกฯ วันที่ 13 ก.ค.นี้ ไทยกำลังจะเข้าสู่การมีนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ที่มาจากการเลือกตั้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญ 60 แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ ย้อนกลับไป 20 ปีที่แล้ว การได้มาของนายกรัฐมนตรี มาทั้งจากการเลือกตั้ง และจากคณะรัฐประหาร
ย้อนไปในสมัย นายทักษิณ ชินวัตร ในปี 2537 นายทักษิณ ลาออกจากตำแหน่งประธาน บมจ. ชินคอร์ปอเรชั่น และเข้าสู่ภาคการเมือง โดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หัวหน้าพรรคพลังธรรม เป็นผู้ชักชวน หลังการปลดรัฐมนตรีจากพรรคพลังธรรมที่เป็นสายบุญชู โรจนเสถียร อดีตหัวหน้าพรรค
"ด้อมส้ม" เตรียมปักหลักค้างคืนหน้ารัฐสภา รอลุ้นโหวตนายกรัฐมนตรี ยันชูป้ายชุมนุมโดยสงบ
หลุดว่อนเน็ต เอกสารประชุม ตร.ซักซ้อมรับ “ทักษิณ” กลับไทย
นายทักษิณ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2537 ในรัฐบาลชวน หลีกภัย และในปีต่อมา เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังธรรมแทนจำลอง และดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา ในปี พ.ศ. 2539 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
เมื่อวันที 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 นายทักษิณ ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค จนในที่สุดก็ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
นายทักษิณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 23 โดยดำรงตำแหน่งสองสมัยติดต่อกัน ระหว่างวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 หลังจากสภาผู้แทนราษฎรครบวาระ และดำรงตำแหน่งอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
โดยเป็นนายกรัฐมนตรีรวมรักษาการนายกรัฐมนตรี เป็นระยะเวลา 5 ปี 222 วัน รวมระยะเวลาเป็นนายกรัฐมนตรี นานเป็นอันดับที่ 5 จาก 29 อันดับของไทย
กระทั่งวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เวลาประมาณ 21.00น. คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกเป็นหัวหน้าคณะกระทำรัฐประหาร ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาลภายใต้การรักษาการนายกรัฐมนตรีของนายทักษิณ ชินวัตร ในที่สุด
ต่อมาคณะรัฐประหาร ได้เชิญเพื่อให้ช่วยรับภาระในการนำรัฐบาลชั่วคราวถึง 2 ครั้งจาก พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน จึงทำให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จึงเข้าดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 โดยมี พล.อ.สนธิ หัวหน้า คปค. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ก่อนสิ้นสุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี วันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2551
ก่อนเปลี่ยน เป็นรัฐบาลนายสมัคร เส้นทางสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ นายสมัคร สุนทรเวชได้รับการโหวตคะแนนเสียงให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียง 310 ต่อ 163 เสียง โดยเสียงของพรรคร่วมรัฐบาล 6 พรรค โหวตให้อย่างท่วมท้น หลังจากนั้นในวันที่ 28 มกราคม 2551 สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบในการแต่งตั้งนายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
นายสมัคร เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 25 ของประเทศไทย แต่คณะรัฐมนตรีนี้ ได้สิ้นสุดลง เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2551 เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า นายสมัครกระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 267 และมาตรา 182 วรรค 1(7) เนื่องจากการที่ นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับเป็นพิธีกรกิตติมศักดิ์ รายการโทรทัศน์ ชิมไปบ่นไป และยกโขยง 6 โมงเช้า ซึ่งคณะตุลาการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง เห็นว่านายสมัคร กระทำต้องห้ามขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เรื่องคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีทำให้นายสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นผลให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะ พ้นจากตำแหน่งด้วยตามมาตรา 180 วรรค 1 (1) แต่ในระหว่างนี้คณะรัฐมนตรีทั้งหมดจะรักษาการในตำแหน่งไปก่อน จนกว่าจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามมาตรา 181
ต่อมา ในวันที่ 9 กันยายน 2551 ได้รับเลือกจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีหลังจากนายสมัครพ้นจากตำแหน่งตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีขาดคุณสมบัติ
และวันที่ 17 กันยายน 2551 ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย โดยผลการลงคะแนนปรากฎว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ได้ 298 เสียง ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ 163 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ทำให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ จึงได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย
ต่อมา เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 ศาลรัฐธรรมนูญ ได้อ่านคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน เนื่องจากกรณีที่นายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนและกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 มีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้ เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม อันเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ประกอบมาตรา 237 วรรคสอง และให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคพลังประชาชน และกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน จำนวน 37 คน เป็นเวลา 5 ปี ทำให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะรักษาการหัวหน้าพรรคพลังประชาชนต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
จึงทำให้มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่อีกครั้งหนึ่ง ผลปรากฏว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้คะแนนเสียงในสภามากกว่า จึงได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 17 ธันวาคม 2551 และหน้าที่ของผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร จึงเป็นของ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งไปชั่วคราว จนกระทั่งอภิสิทธิ์ ประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้ง อภิสิทธิ์ ได้ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี ต่อมาจนถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2554
หลังจากที่นายอภิสิทธิ์ ประกาศพระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 2554 ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 โดยให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับร้องขอจาก ทักษิณ ชินวัตร ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย ท่ามกลางกระแสข่าวว่าเป็นตัวแทนของทักษิณ
โดยนางสาวยิ่งลักษณ์ จึงได้เข้าสู่วงการการเมืองโดยสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค ที่มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทยเป็นประธานที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ
และผลการเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ปรากฏว่า พรรคเพื่อไทยได้คะแนนมาเป็นอันดับที่ 1 ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 28 ใช้เวลาเพียง 49 วัน ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
ถือเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก และนายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ของไทย ด้วยวัย 44 ปี ในขณะนั้น
ด้วยวิกฤตทางการเมือง ช่วงที่มีการเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม สุดซอย จนนำมาสู่การเดินลงถนนของกลุ่ม กปปส. เกิดการชุมนุมต่อต้านได้เกิดขึ้นทั่วประเทศกลายเป็นการชุมนุมใหญ่ทางการเมือง จนนางสาวยิ่งลักษณ์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เกิดการเลือกตั้งใหม่ ที่เป็นโฆมะ มีคดีติดตัวอีกหลายคดี
ต่อมา วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เข้ายืดอำนาจ รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ต่อมาวันที่ 26 พฤษภาคม มีพิธีสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้า คสช.
และวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นชอบ 191 เสียง เลือกพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี
ก่อนที่การเลือกตั้งปี 2562 พลเอกประยุทธ์ จะได้รับการสนับสนุนจากเสียงส่วนใหญ่ของสภา ให้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง จนได้เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 29
ก่อนจะมาสมัครเป็นสมาชิก พรรครวมไทยสร้างชาติ แล้วถูกเสนอชื่อเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี แต่ไม่ได้เป็น ส.ส.บัญฃีรายชื่อ ลงแข่งเลือกตั้ง ในวันที่ 14 พ.ค.2566 แต่ในที่สุด เพียง 2 เดือนที่อยู่ระหว่างจะจัดตั้งรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ ได้ไขก๊อก แล้วประกาศวางมือทางการเมืองในที่สุด